• นิราศนครวัด ตำราแพทย์แผนโบราณ ตำรับแกงไทย
  • หนังสือสมุดไทยดำ ตำราชกมวย เพลงดนตรีประวัติศาสตร์ หนังสือพุทธจริยา
  • หนังสือแบบสอนอ่านจินตกระวีนิพนธ์ ดอกสร้อยสุภาสิต ตำรารำ ดรุโณวาท
  • วิธีการเล่นกีฬาพื้นเมืองตามประเพณีนิยมฯ คำภีร์ครรภ์ทรักษาของหมอบรัดเล การเสด็จประพาสรอบแหลมมาลายูของรัชกาลที่ ๕
  • บันทึกเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ วิวัฒนาการการแต่งกายสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระราชพิธีในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
  • ฉลากน้ำหอม ริ้วกระบวนแห่พยุหยาตราทางชลมารคสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จดหมายเหตุ การเสด็จประพาสต้นของรัชกาลที่ 5
  • บัตรอวยพรย้อนยุค สมุดภาพการ์ตูน กระบวนพยุหยาตราทางสถลมาคร สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
  • แบบเรียนศัพท์กรมศึกษาธิการ ศัพท์โบราณแผลง พระราชบัญญัติว่าด้วยแบบอย่างธงสยาม ร.ศ. 110 Twentieth Century Impressions of Siam : Its History, People, Commerce, Industries, and Resources
  • ยุวราชสกุลวงศ์ สังคมไทยสมัยรัชกาลที่ 5 นิทานร้อยบรรทัด
  • มูลบทบรรพกิจ พระราชพิธีสิบสองเดือน สมุดภาพไปรษณียบัตร
  • นิราศนครวัด
    นิราศนครวัด
    สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
    นิราศนครวัด เป็นพระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อครั้งเสด็จกรุงกัมพูชาเป็นการส่วนพระองค์ ระหว่างวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน - ๑๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๖๗ ในขณะที่ทรงมีพระชนมายุ ๖๒ พรรษา และเป็นนิราศโบราณเรื่องเดียวที่แต่งคำประพันธ์เป็นร้อยแก้ว โดยมีกลอนนิราศนครวัดอยู่ตอนต้นเรื่องเป็นเสมือนคำนำของหนังสือ ที่บอกเล่าถึงการเสด็จไปเยือนกัมพูชาครั้งนั้น ...
  • ตำราแพทย์แผนโบราณ
    ตำราแพทย์แผนโบราณ
    ร.อ. ขุนโยธาพิทักษ์ (แท่นประทีปะจิตติ)
    ตำราแพทย์แผนโบราณ วิชาหมอนวด - โยคะศาสตร์ และตำรา เภสัชกรรม ราคา ๓๐ บาท จัดเก็บโดย หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ๑๐ มิถุนายน ๒๕๑๗ ตำราแพทย์แผนโบราณเล่มนี้เรียบเรียงโดย ร.อ. ขุนโยธาพิทักษ์ ( แท่น ประทีปะจิตติ ) ซึ่งเคยเป็นนายแพทย์ประจำกระทรวงกลาโหม ครั้งในสมัยพระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระพุทธเจ้า หลวง) เป็นนายแพทย์ที่มีความสามารถมาก ได้ทำการรักษาข้าราชการ ประชาชนในสมัยนั้นเป็นจำนวนมาก จนปรากฎเกียรติประวัติ เป็นที่รู้จัก กันทั่วไป ทั้งยัง ดำรงตำแหน่งเป็นอาจารย์สอนวิชาแพทย์ไทยแผน โบราณ ให้แก่ผู้สนใจ ในด้านหมอแผนโบราณเป็นจำนวนมาก...
  • ตำรับแกงไทย
    ตำรับแกงไทย
    ของสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์
    ตำรับแกงไทย หนังสือที่รวบรวมแกงไทย ที่มีมากมายหลายชนิดด้วยกัน และวิธีปรุงแต่ละภาคแต่ละจังหวัดก็ต่างกัน ในตำรับเล่มนี้ท่านจะเห็น "แกงอ่อม" หรือ "แกงไตปลา" มีอยู่หลายตำรับ แต่ก็ผิดแผกกันไปตามความนิยมของผู้อยู่ในจังหวัดนั้นๆ ซึ่งท่านจะทดลองทำแล้วเลือกตามชอบได้
  • หนังสือสมุดไทยดำ ตำราชกมวย
    หนังสือสมุดไทยดำ ตำราชกมวย
    หนังสือสมุดไทยดำ ตำราชกมวย เป็นหนังสือสมุดไทยดำ ที่บรรจุท่าแม่ไม้มวยไทย การชกตัวต่างๆ อาทิ ไม้ ๑ และ ไม้ ๑ แก้กัน ไม้ ๒ แล ไม้ ๒ แก้กัน โดยแสดงเป็นภาพนักมวยทั้ง ๒ ฝ่าย แสดงท่าทางไม้ไม้มวยไทยให้เห็นอย่างชัดเจน
  • เพลงดนตรีประวัติศาสตร์
    เพลงดนตรีประวัติศาสตร์
    เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมะลายู
    เพลงดนตรีประวัติศาสตร์ ของกรมศิลปากร เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมาลายู พิมพ์แจกในงานศพ นายเรือกเอก ชุนบำราปราชริปู กับ นางสาวมาลี จันทนะกนิฐ ณ วัดทรงธรรม อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ วันที่ ๑๙ เมษายน พ.ศ.๒๔๘๕
  • หนังสือพุทธจริยา
    หนังสือพุทธจริยา
    หลวงประเสริฐอักษรนิติ์ (แพ)
    หนังสือพุทธจริยา สำหรับนักเรียนประโยค ๑ ชั้น ๓ เป็นหนังสือให้ความรู้ทางพระพุทธศาสนาสำหรับเด็กนักเรียนประโยค ๑ ชั้น ๓ แต่งโดยหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ (แพ) ปลัดกรมศึกษาธิการสมัยนั้น พิมพ์โดยรับสั่งพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ อธิบดีกรมศึกษาธิการ เมื่อ ร.ศ. ๑๑๙ ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นหนังสือที่แต่งขึ้นเพื่อให้ความรู้เบื้องต้นทางพระพุทธศาสนา ปลูกฝังจริยธรรมสำหรับเด็ก และให้เด็กมีความรักและบำรุงพระศาสนา
  • หนังสือแบบสอนอ่านจินตกระวีนิพนธ์ ดอกสร้อยสุภาสิต
    หนังสือแบบสอนอ่านจินตกระวีนิพนธ์ ดอกสร้อยสุภาสิต
    สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ
    เมื่อครั้งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ ทรงดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเลี้ยงเด็กของพระอัครชายาเธอพระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ ได้ทรงมีพระดำริว่า ถ้อยคำที่รวบรวมกันเป็นบทเป็นบาท สำหรับเด็กร้องเล่นอยู่ตามธรรมดาชาวบ้านเป็นบทขบขันอยู่ มีคำที่ไม่มีความหมายหรือใช้กันอย่างผิดๆ จำนวนมาก จึงทรงแปลงเอาชื่อของบทเดิมๆ ซึ่งเด็กร้องๆ เล่นอยู่มาเป็นเค้าแต่งเรื่องขึ้น โดยให้มีใจความสำคัญเป็นคติข้อคิดเตือนใจ หรือสุภาษิตสอนใจประกอบด้วย เพื่อให้ร้องเล่นเป็นประโยชน์
  • ตำรารำ
    ตำรารำ
    ตำรารำ หรือ ตำรานาฏยศาสตร์ คือตำราที่บันทึกวิชาความรู้เกี่ยวกับการระบำรำฟ้อน เป็นสิ่งที่ช่วยอนุรักษ์คุณค่าและความรู้ด้านนาฏยศาสตร์ไทยไว้มิให้เสื่อมสูญไปตามกาลเวลา อีกทั้งยังเป็นเสมือนสัญลักษณ์ของคัมภีร์นาฏศิลป์ของไทย สันนิษฐานว่าน่าจะใช้เป็นอุปกรณ์สำคัญในการประกอบพิธีไหว้ครูโขน-ละครมาตั้งแต่ดั้งเดิม
  • ดรุโณวาท
    ดรุโณวาท
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์
    เป็นหนังสือจดหมายเหตุรวบรวมข่าวในกรุงและต่างประเทศ และหนังสือวิชาการช่วงต่างๆอันเป็นที่ประดับปัญญาคนหนุ่ม ตีพิมพ์ออกอังคารละหน
  • วิธีการเล่นกีฬาพื้นเมืองตามประเพณีนิยมฯ
    วิธีการเล่นกีฬาพื้นเมืองตามประเพณีนิยมฯ
    พระยาวิเศษศุภวัตร์
    วิธีการเล่นกีฬาพื้นเมืองตามประเพณีนิยม แสดงที่ท้องสนามหลวง วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘
  • คำภีร์ครรภ์ทรักษาของหมอบรัดเล
    คำภีร์ครรภ์ทรักษาของหมอบรัดเล
    ด็อกเตอร์แดน บีช บรัดเล (Dr. Dan Beach Bradley)
    คำภีร์ครรภ์ทรักษาของหมอบรัดเล เป็นสูติศาสตร์ที่ได้รับการแปลย่นความจากหนังสือครรภ์ทรักษา ของแพทย์อเมริกา เขียนโดย ด๊อกเตอร์แดน บีช บรัดเลย์ (Dr. Dan Beach Bradley) หรือ หมอบรัดเลย์ ซึ่งเป็นแพทย์มิชชันนารี ชาวอเมริกันที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย ท่านเป็นผู้แรกที่ได้ริเริ่มหล่อตัวพิมพ์ภาษาไทย และพิมพ์หนังสือไทยในประเทศสยาม (ขณะนั้น) คำภีร์ครรภ์ทรักษานี้เป็นผลงานการพิมพ์ทางการแพทย์ที่สำคัญเล่มแรกที่ได้รับการตีพิมพ์ขึ้นในประเทศสยามขณะนั้น เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๘๕ และทูลเกล้าฯ ถวายแต่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ จากนั้นนำมาเผยแพร่พิมพ์เป็นตำรา วิชาการผดุงครรภ์ทเป็นตำราในสมัยนั้น
  • การเสด็จประพาสรอบแหลมมาลายูของรัชกาลที่ ๕
    การเสด็จประพาสรอบแหลมมาลายูของรัชกาลที่ ๕
    พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์
    พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เป็นผู้มีพระวิสัยทัศน์และพระปรีชาสามารถหลายด้าน ได้แก่ ด้านปกครอง การทหาร การต่างประเทศ การศึกษา เป็นต้น ทรงปฏิบัติพระราชภารกิจต่าง ๆ มากมาย ที่นำความเจริญรุ่งเรืองมาให้แก่ประเทศและประชาชน จนบางครั้งทรงประชวร แพทย์จึงแนะนำให้พระองค์พักผ่อนเปลี่ยนอากาศ เพื่อคลายพระอาการขึ้น โดยเสด็จ ประพาสแหลมมลายูในปีรัตนโกสินทรศก ๑๐๘ (พ.ศ. ๒๔๓๒) การเสด็จประพาสแหลมมลายูเกิดขึ้นหลายครั้ง ได้แก่ รัตนโกสินทรศก ๑๐๘ (พ.ศ. ๒๔๓๒) รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓) รัตนโกสินทรศก ๑๑๗ (พ.ศ. ๒๔๔๑) รัตนโกสินทรศก ๑๒๐ (พ.ศ. ๒๔๔๔) โดย เหตุที่พระองค์ทรงเชี่ยวชาญทางอักษรศาสตร์ จึงทรงมีพระราชนิพนธ์ในการเสด็จประพาสเป็นพระราชหัตถเลขา จำนวนหลายฉบับ พระราชหัตถเลขาเรื่องเสด็จประพาสแหลมมลายู นับเป็นเอกสารที่มีคุณค่ายิ่งทั้งด้านประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจ การคมนาคม และอื่นๆ จึงสมควรแก่การศึกษาวิจัย
  • บันทึกเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ
    บันทึกเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ
    สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร
    จดหมายเหตุรายวัน ในสมเด็จพระบรมราชปิตุลาธิบดี เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ (สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร) เป็นบันทึกส่วนพระองค์จากสมุดที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า- เจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชทานเป็นของขวัญวันประสูติ ครบ ๕ ปี (๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๖) การบันทึกใน ครั้งแรกทำเพียงแต่เป็นการเล่าถวาย พระเจ้าบรมวงศ์ พระองค์เจ้าโสมาวดี กรมหลวงสมรรัตน์สิริเชษฐ และ พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์อื่นๆ จดตามทรงเล่าไว้ในสมุด กระทั่งทรงเจริญพระชันษาได้ ๘ ปี จึงทรงบันทึก ด้วยพระองค์เอง ถึงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๓๖ หลังจากนั้นมิได้ทรงบันทึกอะไรอีก จนอีก ๑๐ เดือนต่อมา ทรงประชวรหนักและสวรรคตในวันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๗ พระชนมายุได้ ๑๖ ปี ๖ เดือน
  • วิวัฒนาการการแต่งกายสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
    วิวัฒนาการการแต่งกายสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
    กรมศิลปากร
    การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีใน ปี พ.ศ. ๒๓๒๕ ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญอีกครั้งหนึ่ง ของสยามประเทศ การสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามมาแต่ครั้งเก่าแก่ได้ถูกสืบสานอย่างมิได้ขาดสาย การแต่งกายถึงเป็นตัวอย่างหนึ่งที่ชี้ให้เห็นถึงวัฒนธรรมที่มีการสืบทอดมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนกระทั่งการ ผสมผสานกับการวัฒนธรรมของชาวตะวันตก รูปแบบการแต่งกายในสมัยรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะภายใน พระราชสำนัก ถือเป็นแม่แบบที่ทำให้เราได้ศึกษาถึงลักษณะของการแต่งกายได้เป็นอย่างดี นับตั้งแต่ พระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ในระดับต่างๆ ขุนนาง ข้าราชการ จนกระทั่งถึงพ่อค้าคหบดี ประชาชนบุคคลโดยทั่วไป รูปแบบและการแต่งกายในแต่ละสถานะต่างมีเอกลักษณ์ในแบบของตนเอง รวมไปถึงองค์ประกอบอื่นๆ ที่นำเข้ามาประกอบ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องประดับอาภรณ์ชนิดต่างๆ และทรงผม ทั้งนี้ย่อมมีการคงไว้ตามรูปแบบจารีตดั้งเดิม และปรับเปลี่ยนไปตามยุคตามสมัยเพื่อให้สอดคล้องกับชีวิต ความเป็นอยู่และบริบททางสังคม
  • พระราชพิธีในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
    พระราชพิธีในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
    กรมศิลปากร
    ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชนับเป็นรัชสมัยที่สำคัญอีกรัชสมัยหนึ่ง เนื่องจากทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกในราชวงศ์จักรีและทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของโลกที่ทรงครองสิริราชสมบัติยาวนานที่สุดถึง 60 ปี (9 มิถุนายน พ.ศ.2489 - 9มิถุนายน พ.ศ.2549) ในช่วงระยะเวลา 60ปี แห่งรัชสมัยได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการจัดงานพระราชพิธีและงานที่เนื่องด้วยบ้านเมืองงานเหล่านั้นเป็นทั้งพระราชพิธีที่ถือปฏิบัติตามแบบแผนที่สืบทอดมาจากอดีต เป็นทั้งพระราชพิธีที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ปรับปรุงขึ้นใหม่เพื่อความเหมาะสมและความเป็นสิริมงคล ขุมทรัพย์ของแผ่นดินเรื่อง "พระราชพิธีในสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช" รวบรวมพระราชพิธีในรัชกาลปัจจุบันจำนวนทั้งสิ้น 87 พระราชพิธี แบ่งเป็นพระราชพิธีประจำ18 พระราชพิธี พระราชพิธีพิเศษ 69พระราชพิธี ซึ่งประกอบด้วยพระราชพิธีเนื่องในพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและเนื่องในโอกาสพิเศษ 19 พระราชพิธี พระราชพิธีอันเนื่องด้วยพระบรมวงศ์ 25พระราชพิธี และพระราชพิธีอันเนื่องด้วยบ้านเมืองอีก 25 พระราชพิธีนำเสนอพร้อมภาพเครื่องประกอบพระราชพิธีและวีดิทัศน์ขนาดสั้นพระราชพิธีสำคัญที่หาชมได้ยาก
  • ฉลากน้ำหอม
    ฉลากน้ำหอม
    กรมศิลปากร
    ในประเทศไทยมีหลักฐานว่า ไทยนิยมใช้น้ำหอมตะวันตกมากในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ดังปรากฏมีฉลากน้ำหอมที่มีพระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์ และบางครั้งอยู่คู่กับพระบรมฉายาลักษณ์ของสมเด็จพระศรีพัชรินทรา พระบรมราชินีนาถอยู่บนสลากน้ำหอมที่ผลิตในประเทศฝรั่งเศสและประเทศอังกฤษ (ดูฉลากเลขที่ 114 118 119 และ 120) และมีฉลากที่มีรูปช้างของสยามที่ผลิตในประเทศเยอรมนี (ดูฉลากที่ 65) นอกจากนั้นยังมีการจำหน่ายน้ำหอมอย่างแพร่หลายในกรุงเทพฯ ดังปรากฏฉลากเลขที่ 612 ที่มีพรบรมฉายาลักษณ์ของพระเจ้าอยู่หัวตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 5 บนฉลากที่มีข้อมูลว่า จำหน่ายในกรุงเทพฯ รวมทั้ฉลากเลที่ 614 ที่มีรูปเงาะคนังที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงชุบเลี้ยง และฉลากเลขที่ 117 มีรูปนางฟ้าแต่งกายแบบนางละครไทย ที่ผลิตในอิตาลี และบริษัท G. Kluzer Co.Bangkok นำเข้ามาจำหน่าย และที่สำคัญมีฉลากเลขที่ 113 มีพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระศรีพัชรินทรา พระบรมราชินีนาถ มีข้อความเป็นภาษาไทยบอกชื่อบริษัทว่า "อี,เอม ฮูเซ็นแอนโก ถนนราชวงษ"
  • ริ้วกระบวนแห่พยุหยาตราทางชลมารคสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
    ริ้วกระบวนแห่พยุหยาตราทางชลมารคสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
    ไม่มีผู้รู้จัดทำ
    ตำรา ?ริ้วกระบวนแห่พยุหยาตราทางชลมารคสมเด็จพระนารายณ์มหาราช?เป็นหนังสือสมุดไทยที่สันนิษฐานว่า ได้คัดลอกมาจากภาพเขียนที่ฝาผนังอุโบสถวัดยม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นวัดหลวงสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๒๒๔ ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ภาพเขียนตัวจริงนั้นถูกทำลายไปหมดแล้ว ได้จำลองลงสมุดไทยเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๙ ปัจจุบันต้นฉบับสมุดไทยเก็บรักษาอยู่ในหอสมุดแห่งชาติ มีคุณค่าทางด้านโบราณราชประเพณี เกี่ยวกับเรื่องเรือพระราชพิธี ที่กล่าวถึงสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จไปพระพุทธบาททางชลมารค ทำให้ ทราบชื่อเรือพระราชพิธี ตำแหน่งของเรือในกระบวน และตำแหน่งของม้าแซงชายฝั่งที่ขนาบข้างกระบวน- พยุหยาตราทางชลมารค จัดได้ว่าเป็นริ้วกระบวนใหญ่ที่แสดงถึงความมั่งคั่งในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จำนวนเรือทั้งหมดในกระบวนพยุหยาตราที่ปรากฏในหนังสือตำราภาพริ้วกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชมีด้วยกันทั้งสิ้น ๑๑๓ ลำ และเป็นกระบวนเรือที่ครบถ้วนสมบูรณ์ ซึ่งเมื่อ เปรียบเทียบกับริ้วกระบวนเรือในสมัยหลัง พบว่าถูกตัดทอนลงไป เพราะเรือชำรุดไปตามกาลเวลา ไม่มีผู้รู้จัดทำ ขึ้นใหม่และถูกต้องตามแบบอย่างที่ได้รับการบันทึกในหนังสือเล่มนี้
  • จดหมายเหตุ การเสด็จประพาสต้นของรัชกาลที่ 5
    จดหมายเหตุ การเสด็จประพาสต้นของรัชกาลที่ 5
    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
    การเสด็จประพาสต้นมีการบันทึกเป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ บทพระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ในรูปแบบของจดหมาย จำนวนหลายฉบับ ในจดหมายมีการใช้ชื่ออำพรางผู้ตามเสด็จ ส่วนเนื้อหาเกี่ยวกับการเสด็จหัวเมืองต่างๆ ใน ร.ศ. ๑๒๓ (พ.ศ. ๒๔๔๗) และ ร.ศ. ๑๒๕ (พ.ศ. ๒๔๔๙) นั้น เนื้อเรื่องเป็นการบรรยายรายละเอียด ของสถานที่ บุคคล และสิ่งของที่ทอดพระเนตรตามระยะทางการเสด็จ นับเป็นเอกสารที่มีคุณค่ายิ่ง ในทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจ การคมนาคม และด้านอื่นที่สมควรแก่การศึกษาวิจัย ทั้งยังให้คุณค่าทางวรรณคดี ในด้านวิธีการประพันธ์ ซึ่งทำให้เห็นภาพว่าทรงใกล้ชิดกับพสกนิกร ดังนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงเป็นที่รักและเทิดทูนของราษฎรมาก จนได้รับการพร้อมใจ ถวายพระนามว่า ?สมเด็จพระปิยมหาราช?
  • บัตรอวยพรย้อนยุค
    บัตรอวยพรย้อนยุค
    หอจดหมายเหตุแห่งชาติ
    แม้ว่าบัตรอวยพรจะเป็นสิ่งที่สังคมไทยได้รับอิทธิพลมาจากชาติตะวันตก แต่หากเมื่อมองจากจุดเริ่มต้น ก็ดูเหมือนว่า การส่งบัตรอวยพรได้กลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของไทยที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ในปัจจุบัน จากหลักฐานเก่าแก่ที่สุดที่ปรากฏ พบว่า เริ่มมีการส่งบัตรอวยพรในสังคมไทยนับตั้งแต่รัชสมัย ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๙ อันเป็นบัตรอวยพรที่พระองค์ทรงส่งถึง ชาวต่างประเทศที่อาศัยอยู่ทั้งในและนอกพระราชอาณาจักร
  • สมุดภาพการ์ตูน
    สมุดภาพการ์ตูน
    นายพิมน กาฬสีห์
    การ์ตูน ตุ๊กตา เป็นหนังสือการ์ตูนที่เขียนโดยฝีมือคนไทยฉบับแรก โดย นายพิมน กาฬสีห์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๕ ถึงปี พ.ศ. ๒๕๓๒ คำว่า ตุ๊กตา นั้นเป็นทั้งนามปากกาของ นายพิมน กาฬสีห์ และเป็น หัวหนังสือของหนังสือการ์ตูน "ตุ๊กตา" นอกจากนี้นายพิมน ยังได้นำชื่อเล่นของบุตรสาวคือ กุ๊กไก่และหน่อย มาเป็นตัวละครสำคัญในการ์ตูน "ตุ๊กตา"อีกด้วย ส่วน หนูนิดและหนูแจ๋ว นั้น เป็นตัวละครที่สร้างจากจินตนาการ ขึ้นมาเอง ความสำคัญของการ์ตูน "ตุ๊กตา" จึงเป็นทั้งการ์ตูนฝีมือคนไทยเล่มแรก และเป็นต้นแบบที่ทำให้เกิดการ สร้างสรรค์การ์ตูนไทยเล่มอื่นๆ ตามมาในภายหลัง อาทิ หนูจ๋า เบบี้ การ์ตูนชัยพฤกษ์ ขายหัวเราะ
  • กระบวนพยุหยาตราทางสถลมาคร สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
    กระบวนพยุหยาตราทางสถลมาคร สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
    พันเที่ยงกำนันตำบลหอรัตนไชยช่างเขียน กับนายแขช่างเขียน
    คัดลอกมาจากจิตรกรรมฝาผนังวัดยม ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ขนาดหน้ากระดาษกว้าง 14 เซนติเมตร ยาว 68.5 เซนติเมตร แต่ละหน้าตรึงติดกันพับซ้อนเป็นชั้น ดูได้ครั้งละ 2 หน้า ภาพทั้งหมดว่าด้วยริ้วกระบวนพยุหยาตราทางสถลมารค เพื่อไปถวายผ้าพระกฐินเมื่อแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
  • แบบเรียนศัพท์กรมศึกษาธิการ ศัพท์โบราณแผลง
    แบบเรียนศัพท์กรมศึกษาธิการ ศัพท์โบราณแผลง
    ขุนประสิทธิ์อักษรสารเป็นผู้ตรวจตราแก้ไข และมีพระยาวิสุทธสุริยศักดิ์เป็นอธิบดีกรมศึกษาธิการ
    แบบเรียนศัพท์โบราณแผลงเป็นแบบเรียนศัพท์สำหรับชั้นประถมศึกษาของกรมศึกษาธิการ กระทรวงธรรมการ แบบเรียนนี้เป็น ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๒ ราคาเล่มละ ๙ อัฐ พิมพ์ที่โรงพิมพ์อักษรนิติ์ บางขุนพรหม แบบเรียนเล่มนี้แต่เดิมใช้เป็นแบบเรียนวิชาขั้นต้นของโรงเรียนมหาดเล็กของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
  • พระราชบัญญัติว่าด้วยแบบอย่างธงสยาม ร.ศ. 110
    พระราชบัญญัติว่าด้วยแบบอย่างธงสยาม ร.ศ. 110
    -
    พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช ๒๕๔๒ ให้ความหมายว่า ?ธง? หมายถึง ผืนผ้าโดยมากเป็นสีและบางอย่างมีลวดลายเป็นรูปต่างๆ ที่ทำด้วยกระดาษและสิ่งอื่นๆก็มี สำหรับ (๑) ใช้เป็นเครื่องหมายบอกชาติ ตำแหน่งในราชการโดยมีกำหนดกฎเกณฑ์ เป็นต้น เช่น ธงชาติ ธงแม่ทัพนายกอง (๒) ใช้เป็นเครื่องหมายตามแบบสากลนิยม เช่น ธงกาชาด บอกที่ตั้งกองบรรเทาทุกข์, ธงขาว บอกความจำนนขอหย่าศึกหรือยอมแพ้, ธงเหลือง บอกเป็นเรือพยาบาลคนป่วยหรือเรือที่มีโรคติดต่ออันตราย (๓) ใช้เป็นเครื่องหมายเรือเดินทะเล คณะ สมาคม อาคารการค้า และอื่นๆ (๔) ใช้เป็นอาณัติสัญญาณ (๕) ใช้เป็นเครื่องตกแต่งสถานที่ในงานรื่นเริงหรือถือเข้ากระบวนแห่ เป็นต้น
  • Twentieth Century Impressions of Siam : Its History, People, Commerce, Industries, and Resources
    Twentieth Century Impressions of Siam : Its History, People, Commerce, Industries, and Resources
    อาร์โนลด์ ไรต์ (Arnold Wright)
    Twentieth Century Impressions of Siam : Its History, People, Commerce, Industries, and Resources เป็นหนังสือเล่ม หนึ่งในชุดหนังสือที่เกี่ยวกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อประมาณ 100 ปีที่แล้ว หนังสือชุดนี้มีหลายเล่มด้วยกัน แต่ปัจจุบัน ปรากฏให้เห็นเพียงเฉพาะเล่มที่เกี่ยวกับพม่า มลายา สิงคโปร์ ฮ่องกง เซี่ยงไฮ้ตลอดจนเมืองท่าอื่นๆ ของจีนที่ต่างชาติได้สิทธิ์ในการเช่า และ ไทย(สยาม) เท่านั้น
  • ยุวราชสกุลวงศ์
    ยุวราชสกุลวงศ์
    กรมศิลปากร
    สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร จัดเก็บรักษาภาพประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจไว้เป็นจำนวนมาก และได้ทยอยนำมาจัดนิทรรศการเพื่อเผยแพร่มรดกชิ้นสำคัญนี้ให้สาธารณชน โดยเฉพาะเยาชนในสถานศึกษาได้ภาคภูมิใจและสนใจที่จะมาใช้บริการภาพประวัติศาสตร์เพื่อการศึกษาที่สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
  • สังคมไทยสมัยรัชกาลที่ 5
    สังคมไทยสมัยรัชกาลที่ 5
    กรมศิลปากร
    กรมศิลปากรโดยหอจดหมายเหตุแห่งชาติได้เก็บรักษาภาพถ่าย ฟิล์มเนกาตีฟ และฟิล์มกระจกสมัยรัชกาลที่ ๔ ถึงรัชกาลที่ ๗ ไว้เป็นจำนวนมาก ภาพถ่ายประวัติศาสตร์ชุดนี้มีทั้งพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระรูปเจ้านาย ภาพข้าราชการ ภาพเกี่ยวกับพระราชพิธีและประเพณีของชาวบ้าน ภาพความเป็นอยู่ของครอบครัวชาวไทย ตลอดจนการแต่งกาย การบันเทิง การกีฬา การศึกษา และการศาสนา รวมทั้งการสาธารณสุขและสาธารณูปโภค เช่น การสร้างทางคมนาคม ถนน คลอง ไฟฟ้า ประปา โทรเลข โทรศัพท์ การไปรษณีย์ การแพทย์และการพยาบาล เป็นต้น
  • นิทานร้อยบรรทัด
    นิทานร้อยบรรทัด
    กระทรวงศึกษาธิการ
    หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ การศึกษาของชาติได้พัฒนาขึ้นมาก หลักสูตรและแบบเรียนวิชาภาษาไทยทุกระดับได้รับการปรับปรุงให้เหมาะสมและน่าสนใจแบบเรียนภาษาไทยในช่วงนี้ประกอบด้วยแบบเรียนหนังสือไทยเบื้องต้นและหนังสือฝึกอ่าน หนังสือฝึกอ่านเล่มหนึ่ง คือ ?นิทานร้อยบรรทัด?
  • มูลบทบรรพกิจ
    มูลบทบรรพกิจ
    พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย) เจ้ากรมพระอาลักษณ์
    แบบเรียนมูลบทบรรพกิจฉบับที่นำมาศึกษาพิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๒ มีจำนวน ๑๑๘ หน้า เนื้อหาประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้ ๑.ปกนอก ปกนอกบอกข้อมูลต่างๆ คือ ชื่อหนังสือ ตำแนห่งผู้แต่ง สถานที่พิมพ์และจำหน่าย ราคา และปีที่พิมพ์ ดังภาพปกต่อไปนี้ ๒.ภาพประกอบ ถัดจากปกนอกมีภาพประกอบ ๓ ส่วน ส่วนแรก เป็นภาพของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ผู้แต่งมูลบทบรรพกิจ ส่วนที่สอง เป็นชุดพยัญชนะ ๔๔ ตัว ตั้งแต่ ก-ฮ ที่มีรูปภาพและมีคำกำกับพยัญชนะ ส่วนที่สาม มีภาพตัวพิมพ์พยัญชนะ ทั้ง ๔๔ ตัว เรียงกันอีกครั้งโดยแบ่งเป็นวรรค คือ ก-ง/จ-ญ/ฎ-ณ-/ด-ฟ และเศษวรรค ภ-ฮ
  • พระราชพิธีสิบสองเดือน
    พระราชพิธีสิบสองเดือน
    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
    พระราชพิธีสิบสองเดือนเป็นพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงพระราชนิพนธ์เมื่อปีชวด พ.ศ. ๑๔๓๑ เหตุที่ทรงพระราชนิพนธ์มีว่า กรรมการหอสมุดวชิรญาณ ซึ่งเหมือนกับหอสมุดแห่งชาติในเวลานั้น มีความเห็นว่าพระองค์ทรงทำพระราชพิธีต่างๆ เป็นประจำอยู่แล้ว ย่อมทรงรู้เรื่องการพระราชพิธีมากกว่าใครๆ จึงขอให้พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้น เพื่อเป็นความรู้ต่อไป และเพื่อประโยชน์กับเจ้าหน้าที่ในการพระราชพิธีนั้นๆ จะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
  • สมุดภาพไปรษณียบัตร
    สมุดภาพไปรษณียบัตร
    กรมศิลปากร
    การสื่อสารในสมัยโบราณเกิดจากการสร้างเส้นทางคมนาคมและเส้นทางการค้า การติดต่อส่งข่าวสารถึงกันใช้วิธีการง่ายๆ ทั้งผ่านทางพ่อค้า ม้าเร็ว ตลอดจนถึงการจัดตั้งคนเร็วไว้ตามเมืองสำคัญ ลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นเรื่อยมาจนถึงยุครัตนโกสินทร์ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระทัยการเขียนจดหมายตอบโต้เป็นภาษาอังกฤษ ทรงใช้การสื่อสารทางไปรษณีย์ในการติดต่อกับประมุขและบุคคลทั้งภายในและภายนอกประเทศ นับเป็นกุศโลบายอันเฉียบแหลมในการเจริญสัมพันธไมตรีกับมิตรประเทศ อันที่จริงลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นมาตั้งแต่รัชกาลก่อน