สารบัญ
ด็อกเตอร์แดน บีช บรัดเล (Dr. Dan Beach Bradley)
คำภีร์ครรภ์ทรักษาของหมอบรัดเล* เป็นสูติศาสตร์ที่ได้รับการแปลย่นความจากหนังสือครรภ์ทรักษา

ของแพทย์อเมริกา เขียนโดย ด๊อกเตอร์แดน บีช บรัดเลย์ (Dr. Dan Beach Bradley) หรือ หมอบรัดเลย์ ซึ่งเป็นแพทย์มิชชันนารี ชาวอเมริกันที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย ท่านเป็นผู้แรกที่ได้ริเริ่มหล่อตัวพิมพ์ภาษาไทย และพิมพ์หนังสือไทยในประเทศสยาม (ขณะนั้น) คำภีร์ครรภ์ทรักษานี้เป็นผลงานการพิมพ์ทางการแพทย์ที่สำคัญเล่มแรกที่ได้รับการตีพิมพ์ขึ้นในประเทศสยามขณะนั้น เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๘๕ และทูลเกล้าฯ ถวายแต่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ จากนั้นนำมาเผยแพร่พิมพ์เป็นตำรา วิชาการผดุงครรภ์ทเป็นตำราในสมัยนั้น

สำหรับ เหตุจูงใจในการแต่งคำภีร์ครรภ์ทรักษานั้น หมอบรัดเลย์ได้ชี้แจงว่า

“ข้าพเจ้าตั้งใจจะจัดแจงแต่งตำรานี้ถวายนั้นเพราะได้เห็นเหตุ ๓ ประการคือ ในเมืองนี้หญิงคลอดบุตรได้โดยยากลำบากนัก...จะได้ รักษาโดยง่าย โดยสะดวก..ประการหนึ่ง ประการหนึ่ง...เด็กทารกที่เกิดออกมานั้นมักจะมีโรค มักตายเร็วเป็นอันมาก เพราะเขารักษาโดยเห็นวิปลาศ ประการหนึ่ง...ข้าพเจ้าได้ค้นดูตำราอย่างอเมริกา แลตำราเมืองอังกฤษ แลตำราเมืองอื่น ๆ เป็นหลายเมือง ควรเชื่อฟังได้...แลฝ่ายพวก หมออเมริกา แลหมออังกฤษ ทั้งปวง ก็ได้กระทำตามตำราที่ดีที่ถูกต้องนั้นมาหลายร้อยปีแล้ว จึงมีคุณ แก่ชาวเมืองอเมริกา แลเมืองอังกฤษนั้นมาก บัดนี้ข้าพเจ้าจะจัดแจงตำราคลอดบุตรนี้แต่โดยย่อ พอให้เห็นเป็นใจความก่อน...”

คำภีร์ครรภ์ทรักษาของหมอบรัดเล* นี้มีความหนาประมาณ ๒๐๐ หน้า พร้อมทั้งภาพประกอบฝีมือคนไทย ประมาณ ๕๐ ภาพ มีจำนวนพิมพ์ทั้งสิ้น ๒๐๐ เล่ม จัดพิมพ์ที่โรงพิมพ์อเมริกันบอร์ด สำหรับเนื้อหาภายในเล่มนั้นเป็นการให้ความรู้ เรื่องผดุงครรภ์ การคลอด อาการของโรคในการคลอด วิธีการแก้ไขรักษา และพยายามให้คนไทยเลิกธรรมเนียมการอยู่ไฟ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้มารดาหลังคลอดเสียชีวิต นอกจากนั้นยังมีการสอดแทรกข้อความในพระคัมภีร์คริสต์ศาสนา ซึ่งสอดคล้องกับภารกิจ ของการเป็นหมอสอนศาสนาของผู้จัดทำคือหมอบรัดเลย์ ที่เดินทางเข้ามาสยามประเทศ เพื่อเผยแพร่คริสต์ศาสนา ซึ่งกำลังเป็น ที่เฟื่องฟูของสังคมอเมริกันในสมัยนั้น และเป็นเหตุผลสำคัญ ซึ่งส่งอิทธิพลโดยตรงต่อหมอบรัดเลย์ ที่ทำให้ท่านตัดสินใจ เรียนด้านการแพทย์ เพื่อสนับสนุนกับงานเผยแพร่ศาสนา ดังนั้น เมื่อสำเร็จการศึกษาด้านการแพทย์แล้ว ท่านจึงมาสมัครเป็น มิชชันนารี กับคณะ เอ บี ซี เอฟ เอ็ม หรือคณะอเมริกันบอร์ด คณะอเมริกันบอร์ดจึงอนุมัติให้หมอบรัดเลย์เดินทางมาเผยแผ่ศาสนา ในประเทศ เมื่อเข้ามาถึงสยาม งานสำคัญชิ้นแรกของหมอบรัดเลย์ คือ การนำวิธีปลูกฝี ป้องกันไข้ทรพิษมาใช้ในการแพทย์ เมืองไทยโดยได้ทดลองเพาะหนองเชื้อขึ้นเองในกรุงเทพฯ ได้สำเร็จ ภายหลังเมื่อทำการปลูกฝีมากขึ้น หมอบรัดเลย์จึงได้เขียน บทความอธิบายถึงวิธีการปลูกฝีในวันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๘๒ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ได้ พระราชทานรางวัลให้ ๓ ชั่ง หรือ ๒๔๐ บาท ซึ่งถือว่าเป็นเงินจำนวนมากในสมัยนั้น หมอบรัดเลย์ได้กล่าวตอบต่อเจ้าพระยาคลัง เมื่อได้รับเงินรางวัลพระราชทาน ว่าจะนำเงินนี้ไปใช้จ่ายในการเขียนตำราผดุงครรภ์ เพื่อเป็นความรู้สำหรับหมอหลวงและหมอ ชาวบ้านโดยทั่วไป ภายหลังจึงสำเร็จเป็นตำราแพทย์แผนปัจจุบันในสมัยนั้นชื่อว่า “คำภีร์ครรภ์ทรักษา” ในที่สุด

คำภีร์ครรภ์ทรักษาของหมอบรัดเล* มีเนื้อหาครอบคลุมเรื่องต่างๆ ดังต่อไปนี้ :
- มูลเหตุที่พิมพ์
- เล่าเรื่องพระเจ้าให้กำเนิดมนุษย์
- สันถารอุทร
- ลักษณะระดู
- การเกิดของครรภ์
- การเจริญของชีวิตในครรภ์
- ลักษณะของครรภ์
- การเจริญของชีวิตในครรภ์
- ลักษณะทารกที่อยู่ในครรภ์
- ลักษณะครรภ์
- กระดูกศีรษะทารก
- อาการมีครรภ์ หรือไม่มี
- การแท้ง ลักษณะการรักษาอาการปวด
- อาการใกล้คลอด
- การปลอบโยนเอาใจให้คลายกังวลก่อนคลอด
- การแก้ทางปัสสาวะ
- การกระทำเมื่อทารกคลอด
- การคลำอุทร
- การทำความสะอาดแม่และเด็ก
- การให้นม
- วิธีรักษามารดาเมื่อคลอดแล้ว
- ยาแก้ตกโลหิต
- สันถารทารกเมื่อจะออกจากครรภ์

นอกจากนี้ยังมีการอธิบายแผ่นภาพ ต่อไปนี้ด้วย :
- กระดูกเชิงกราน
- อุทรเมื่อท้องได้ ๒ เดือน ๓ เดือน
- เม็ดที่เป็นชีวิต
- ทารก ๙ เดือน
- รก-กระดูกทารก
- ทารกเมื่อใกล้คลอด/เครื่องมือคีมทำคลอด

*ชื่อเรื่องเขียนตามอักขรวิธีของต้นฉบับ
หน้า จาก ๔ หน้า